ทักษะเทคโนโลยีการเกษตรดิจิทัลของสมาร์ทฟาร์มเมอร์ในประเทศไทย และโมเดลการยอมรับ

Desire Agricultural Digital Technology Skills and a Model of Its Adoption by the Thai Smart Farmers

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความต้องการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีการเกษตรดิจิทัลของสมาร์ทฟาร์มเมอร์  (2) การยอมรับและนำเทคโนโลยีการเกษตรดิจิทัลไปใช้ในการพัฒนาและเพิ่มพูนผลผลิตของสมาร์ทฟาร์มเมอร์ และ (3) พัฒนาตัวแบบการยอมรับและนำเทคโนโลยีการเกษตรดิจิทัลไปใช้ของสมาร์ทฟาร์มเมอร์ กลุ่มตัวอย่างคือสมาร์ฟาร์มเมอร์ที่เป็นสมาชิกเฟซบุ๊กเพจเกษตรกรสมาร์ทฟาร์ม ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวที่สุ่มแบบมีความน่าจะเป็น ได้รับแบบสอบกลับคืนจำนวน 401 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) สมาร์ทฟาร์มเมอร์ไทยมีความต้องการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลใน 10 ด้าน ในระดับปานกลางถึงมาก (ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.76-3.86) ได้แก่ การใช้หุ่นยนต์ การใช้อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งและเซนเซอร์ การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ การใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ การใช้โดรน การใช้นวัตกรรมสิ่งแวดล้อมเสมือนจริงที่ผสมไปบนโลกจริง หรือ XR การจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง การใช้บล็อกเชน การวิเคราะห์ข้อมูล และการประยุกต์ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ผ่านการเชื่อมต่อบนระบบคลาวด์ (2) สมาร์ทฟาร์มเมอร์มีความคาดหวังในประสิทธิภาพของเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัลในภาพรวมในระดับปานกลางค่อนสูง มีความตั้งใจใช้เทคโนโลยีเกษตรดิจิทัลในระดับมาก ใช้เทคโนโลยีเกษตรดิจิทัลในพื้นที่ของตน          เรียงตามลำดับการใช้มากที่สุดไปจนถึงน้อยที่สุด คือ ระบบรดน้ำอัจฉริยะทั้งกลางแจ้งและในโรงเรือน โดรนพ่นฉีดยาฆ่าแมลงและ/หรือพ่นปุ๋ย  ระบบให้อาหารและน้ำในโรงเรือนปศุสัตว์ ระบบโรงเรือนอัจฉริยะ ระบบสื่อสารเกษตรกรรมทันสมัยผ่านแอปพลิเคชันไลน์ เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และแอปพลิเคชันจ้างงานรถเกี่ยวข้าว และ (3) ผลจากการทดสอบสมมติฐานทำให้ได้ตัวแบบการยอมรับและนำเทคโนโลยีการเกษตรดิจิทัลไปใช้ของสมาร์ทฟาร์มเมอร์ จำนวน 9 ตัวแบบ ตัวแบบที่มีขนาดอิทธิพล (R2) ระหว่างร้อยละ 78.6 - ร้อยละ 90 มี 6 ตัวแบบ

Abstract

      The objectives of this research were to study: (1) Smart farmers need to develop digital agricultural technology skills. (2) Digital agricultural technology adoption to develop and enhance the productivity of smart farmers. (3) Develop models for smart farmers' adoption of digital agricultural technology. The research samples were the smart farmers who were the Smart Farm Facebook page members. This study used questionnaires as a tool to collect data from samples that were randomly selected with probability. The 401 recall forms were received. The statistic used to test the hypotheses is multiple linear 
regression analysis. The results showed that: (1) Thai smart farmers have a desire to develop digital technology skills in 10 areas (is between 2.76-3.86): using the Internet of Things (IoT) and sensors, application of artificial intelligence, using 3D printers, using drones, using virtual environment innovations mixed with the natural world (XR), virtual environment simulation, blockchain implementation, data analytics, and hardware and software applications through cloud connectivity. (2) The smart farmers highly moderately expected the overall efficiency of digital agricultural technology. They are highly intent on using digital agricultural technology. They used digital agricultural technology in their areas in ascending order: smart watering systems both outdoors and in greenhouses, drones that spray pesticides and spray fertilizers, feeding and water systems in livestock houses, smart greenhouses, modern agricultural communication systems through LINE application, Facebook, Instagram, and harvester hiring application. (3) The hypothesis test resulted in nine adoption models for digital agricultural technology. Six models had high influence size (R2) between 78.6% and 90%. 

ดาวน์โหลด Full Paper