การพัฒนาและการศึกษาเชิงประจักษ์การยอมรับโปรแกรมประยุกต์เพื่อการบริหารงานนัดหมายผู้ป่วยของสำนักงานแพทย์ทหารกรมยุทธบริการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย

A Development and an Empirical Study of the Application Adoption for Managing Patient Appointments of the Medical Office, Support Service Department, Royal Thai Armed Forces Headquarters

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ออกแบบ และพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ เพื่อการบริหารงาน นัดหมายผู้ป่วยของสำนักงานแพทย์ทหาร กรมยุทธบริการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย  2) ทดลองใช้และติดตามผลและประเมินประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลของโปรแกรมประยุกต์ดังกล่าว และ 3) ศึกษาการยอมรับโปรแกรมประยุกต์เพื่อการบริหารงานนัดหมายผู้ป่วย ผ่านมุมมอง แพทย์ พยาบาล และผู้ป่วย โดยใช้ตัวแบบการยอมรับนวัตกรรม UTAUT2 เป็นทฤษฎีหลักในการศึกษาการยอมรับโปรแกรมประยุกต์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ จากการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นกำลังพลที่ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ สำนักงานแพทย์ทหาร กรมยุทธบริการทหาร และผู้มารับบริการ จำนวน 380 คน ผลการทดสอบสมมุติฐานชี้ว่า (ก) ความคาดหวังในประสิทธิภาพการทำงานของโปรแกรมประยุกต์มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งาน                    ในเชิงพฤติกรรม (NEW_BI) มีขนาดอิทธิพล (R2) เท่ากับ .553 (ข) ความคาดหวังด้านความพยายาม ของผู้ใช้ (NEW_EE) มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้ มีขนาดอิทธิพล (R2) เท่ากับ .511 (ค) อิทธิพลทางสังคม  (NEW_SI) มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้ในเชิงพฤติกรรม (NEW_BI) มีขนาดอิทธิพล (R2) เท่ากับ .723 (ง) สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ (NEW_FC) มีอิทธิพลต่อความชอบ ในการนัดหมายแพทย์ผ่านโปรแกรมประยุกต์เพื่อการบริหารงานนัดหมายผู้ป่วย (UB1) และความรู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจที่ถูกบังคับให้ใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อการบริหารงานนัดหมายผู้ป่วย (UB2)  มีขนาดอิทธิพล (R2) เท่ากับ .400 และ .124 ตามลำดับ และ (จ) ความตั้งใจใช้งานโปรแกรมประยุกต์ ในเชิงพฤติกรรม (NEW_BI) มีอิทธิพลต่อ UB1, UB2 และความรู้สึกเบื่อหน่ายที่ต้องเรียนรู้การใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อการบริหารงานนัดหมายผู้ป่วย ทั้งๆ ที่ระบบเดิมก็ดีอยู่แล้ว (UB3) มีขนาดอิทธิพล (R2) เท่ากับ .606, .030 และ .023 ตามลำดับ

Abstract

        The objectives of this study are to 1. Analyze, design and develop applications for patient appointment management of the medical office, support service department, royal thai armed forces headquarters, 2. The trial, follow up and evaluate the effectiveness of applications, and 3. Study of application’s acceptance for patient appointment management through the perspective of doctors, nurses and patients. Using the innovative acceptance model UTAUT2 as the leading theory in applying acceptance. The statistics used to analyze the data are factor analysis and multiple linear regression analysis. From experimenting with a sample group of staff that performs medical work at the Medical Office, Support Service Department and 380 patients. The hypothesis test results indicated that (a) Performance Expectancy had an influence on Behavioral Intention (NEW_BI) size R2 = .553, (b) Effort Expectancy (NEW_EE) had an influence on Behavioral Intention (BI) size R2 =.511, (c) Social Influence (NEW_SI) had an influence in Behavioral Intention (NEW_BI) size R2 =.723, (d) The facility to use the application (NEW_FC) influenced physician appointment preferences through the patient appointment administration application (UB1), and the frustration at being forced to use the application administration (UB2) had an effect size (R2) of .400 and .124, respectively, and (e) Behavioral application intent (NEW_BI) influenced UB1, UB2 and the boredom of learning to use an application for patient appointment management despite the existing good system (UB3). The influence size (R2) was .606, .030 and .023, respectively. 

ดาวน์โหลด Full Paper