บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารต่างวัฒนธรรมและแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนของนักศึกษาจีนโครงการแลกเปลี่ยน ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยรังสิต ข้อมูลที่ได้ในงานวิจัยครั้งนี้ได้มาจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาจีนโครงการแลกเปลี่ยน จำนวน 28 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากนักศึกษาจีนโครงการแลกเปลี่ยน 5 คน รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารภาควิชาภาษาไทย 2 คน ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารต่างวัฒนธรรมปรากฏทั้งหมด 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการขาดความรู้และความเข้าใจ ได้แก่การขาดความรู้ ความเข้าใจด้านการสื่อสารและการขาดความรู้ ความเข้าใจด้านอวัจนภาษา ปัจจัยด้านพฤติกรรม ได้แก่ พฤติกรรมการไม่เรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ พฤติกรรมการไม่พบปะบุคคลที่มีความแตกต่างจากตนเองพฤติกรรมการไม่พัฒนาทักษะในการใช้ภาษาและการสื่อสารพฤติกรรม การเลือกใช้สื่อมวลชนและพฤติกรรมการไม่พัฒนาทักษะการเรียน และปัจจัยด้านระเบียบ ข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัย สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ การแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบาย ได้แก่ เพิ่มรายวิชาที่เป็นการสื่อสารระดับสูงและการจัดทำหลักสูตรระยะสั้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะการสื่อสารทุกประเภท สำหรับการแก้ไขปัญหาเชิงปฏิบัติได้แก่ กระตุ้นหรือมอบหมายให้เข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรม กระตุ้นให้เห็นความสำคัญและเข้าห้องสมุดกระตุ้นหรือมอบหมายให้ทำกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาไทย ผลจากการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อหลักสูตรที่มีนักศึกษาโครงการแลกเปลี่ยน และ จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศเพื่อจะทราบปัญหาเบื้องต้น อันเกิดจากการสื่อสารต่างวัฒนธรรมและใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้
This research aimed to study factors affecting intercultural communication and intercultural communication problem solutions occurred in exchanged Chinese students classes, Thai Department , Rangsit University. Data collected from questionnaire answered by 28 exchanged Chinese students and in-depth interview of 5 students and 2 lecturers in Thai Department. Result stated 3 factors affecting cross-cultural communication; 1) lacking in knowledge and understanding 2) students were unable to adapt to new culture and 3) students were unable to develop learning skill and students did not follow university rules. Students lacked knowledge in communication and non-verbal language. Students had behavioural problems in inability to adapt to new culture, they denied to meet other people, they did not develop their language skill and did not follow rules. Problem solutions came in 2 ways; 1) developing new policy in adding more advanced communication class and short courses to develop communication skill, 2) practical solution in urging students to participate in activities, visiting library and joining with Thai students. This research will be useful to exchanged student curriculum and will be useful in classes with exchanged students where Thai is taught as foreign language, research results offered solutions in this problem.