งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบการยอมรับแอปพลิเคชันเสริมสร้างทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ โดยใช้สหทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับและใช้เทคโนโลยี ฉบับที่ 2 (UTAUT2) เป็นกรอบแนวคิดของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยนี้คือนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป จำนวน 390 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือ การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างของการวิจัยนี้ใช้แอปพลิเคชันเสริมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในด้านการใช้คำศัพท์ที่ระดับร้อยละ 69.61 และในด้านการแปลร้อยละ 78.08 แอปพลิเคชันที่ใช้มากที่สุดคือ Google Dictionary และ Google Translate ผลการทดสอบสมมติฐานทำให้ได้ตัวแบบการยอมรับแอปพลิเคชันเสริมสร้างทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ จำนวน 29 ตัวแบบ ในตัวแบบที่ได้ปรากฎปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับและใช้แอปพลิเคชันเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษ จำนวน 6 ปัจจัย ได้แก่ ความคาดหวังในประสิทธิภาพและในความคล่องตัว อิทธิพลทางสังคม ความสะดวก แรงจูงใจ และความคุ้นชิน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
This research aims to develop acceptance and use models to enhance English language skills by using the Unified Theory of Acceptance and Use of Technology 2 (UTAUT2) as a research framework. The research employed survey questionnaires as research tools. The research samples are 390 sophomore and senior students of Rangsit University. The statistics used in hypothesis testing were Multiple Logistic Regression and Analysis of Covariance (ANCOVA). The results showed that the sample group of this study used English vocabulary App at the level of 69.61% and English translation App at the level of 78.08%. The most used English Apps were Google Dictionary and Google Translate. The hypothesis testing resulted 29 influencing acceptance models of which shown six factors affected the acceptance and use of English App consisted of performance and effort expectancy, social influence, facilitating conditions, hedonic motivation, and habit, with a statistical significance of 0.05.
ดาวน์โหลด Full Paper