การวิเคราะห์การบริหารงบประมาณเงินรายได้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 – 2562

Analysis of Budget Incomes Administration of Kasetsart University Library, Fiscal Year 2015 - 2019

บทคัดย่อ

        การวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  1) เพื่อวิเคราะห์แผนและผลการบริหารงบประมาณเงินรายได้ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 - 2562 ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์2) เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มประมาณการรายรับ และ ประมาณการรายจ่ายของงบประมาณเงินรายได้ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2565 ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการวิเคราะห์โดยการศึกษาข้อมูลงบประมาณรายได้ของสำนักหอสมุด ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 - 2562 จากระบบสารสนเทศทางการเงิน (ERP) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูล ผลการวิเคราะห์ตลอดระยะเวลา 5 ปีงบประมาณพบว่า 1) สำนักหอสมุดมีการประมาณการงบประมาณแบบเกินดุลอย่างต่อเนื่อง โดยเกินดุลสูงที่สุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และต่ำที่สุด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โดยมีประมาณการรายรับหลัก จากรายได้จากการจัดการศึกษาในรูปแบบของรายได้จากส่วนแบ่งค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมการศึกษา ในขณะที่มีประมาณการรายจ่ายหลัก ได้แก่ งบดำเนินงาน และ งบบุคลากร  2) ในส่วนของรายรับ – รายจ่ายจริงพบว่า สำนักหอสมุดมีรายรับจริงสูงกว่ารายจ่ายจริงทุกปีงบประมาณ  แต่ทั้งรายรับและรายจ่ายจริงที่เกิดขึ้นนั้น  ต่ำกว่าประมาณการที่กำหนดไว้ โดยมีรายรับจริงมากที่สุดจากเงินรายได้จากการจัดการศึกษา และรายจ่ายจริงมากที่สุดจากงบดำเนินงาน และงบบุคลากร  3) ผลการวิเคราะห์แนวโน้มประมาณการรายรับและประมาณการรายจ่ายในภาพรวมของสำนักหอสมุดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2565 ประมาณการว่าจะมีรายรับรวมเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ยร้อยละ 5.29 ต่อปีงบประมาณ และมีรายจ่ายรวมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.65  ต่อปีงบประมาณ ดังนั้นข้อเสนอแนะจากการวิเคราะห์ในครั้งนี้คือ สำนักหอสมุดควรนำผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของปีงบประมาณที่ผ่านมา มาเปรียบเทียบแผนและผล เพื่อเป็นฐานข้อมูลประกอบการจัดทำแผนบริหารงบประมาณเงินรายได้ในรอบปีงบประมาณถัดไป รวมทั้งควรพิจารณาแนวทางการจัดหารายได้จากศักยภาพหรือสมรรถนะที่มีและเชี่ยวชาญ กำหนดแนวทางการลดหรือประหยัดงบประมาณในการบริหารจัดการภายในและการให้บริการ ซึ่งเป็นต้นทุนรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง อาทิ ค่าสาธารณูปโภค และ ค่าวัสดุ เป็นต้น อีกทั้งการเตรียมแผนรองรับการบริหารจัดการรายจ่ายจากการที่ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลและเงินอุดหนุนจากภายนอก ภายใต้การบริหารจัดการแบบบูรณาการและผสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อไป                   

Abstract

        The objectives of this analysis are 1) to analyze plans and results of budgeting and income administration between fiscal years 2015 - 2019 of the library Kasetsart University 2) to analyze the trend of estimated revenue and the estimated expenditure of the income budget between the budget year 2020 - 2022 of the library Kasetsart University. Perform analysis by studying the revenue budget of the library between fiscal year 2015 - 2019 from financial information system (ERP), Kasetsart University including related documents to analyze and compare data the results of the analysis over the 5 fiscal years found that 1) the library constantly has a surplus budget estimate. The surplus is highest in the fiscal year 2562 and the lowest in the fiscal year 2017, with estimates of primary income from education revenue in the form of revenue from tuition fees and tuition fees while the main expenditure estimates are operating and personnel budgets. 2) as for actual revenue-expenditure, the library has higher actual revenue than actual expenses every fiscal year but both the actual income and expenses incurred is lower than the predicted estimates with the most real income from the income from education and the most actual expenditure from operating budgets and personnel budgets. 3) the results of the analysis of the estimated revenue estimates and the overall expenditure estimates of the library that are expected to occur in the fiscal year 2020 - 2022 are estimated to have total revenue increased from the previous average 5.29% per fiscal year And the total expenses increased by an average of 5.65 percent per fiscal year. Therefore, the suggestion from this analysis is that the library should use the results of the budget management efficiency of the past fiscal year to compare plans and results to be a database for preparing the budget management plan for income in the next fiscal year. Should also consider ways to find income from potential or capacity that has expertise establish guidelines for reducing or saving budgets for internal management and services, which are continually increasing costs such as utility bills and material costs, as well as preparing a plan to support expenditure management from non-receiving supporting government budgets and external subsidies under integrated management and cooperation with internal and external departments, Kasetsart University.

ดาวน์โหลด Full Paper