คุณภาพบริการสารสนเทศของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

Information Service Quality of Rajamanngala University of Technology Libraries

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพบริการสารสนเทศของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และเพื่อประเมินคุณภาพบริการสารสนเทศของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

        วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง ซึ่งมีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 106,820 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 917 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามซึ่งปรับมาจากเครื่องมือประเมินคุณภาพบริการของห้องสมุดไลบ์ควอลพลัส (LibQUAL+TM)  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจงความถี่  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
        ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพบริการสารสนเทศของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยระดับบริการที่ผู้ใช้ได้รับจริงสูงกว่าระดับขั้นต่ำของบริการที่ยอมรับได้และสูงกว่าระดับบริการที่ต้องการ ด้านความรู้สึกที่มีต่อบริการอยู่ในระดับมาก รองลงมาด้านการควบคุมสารสนเทศอยู่ในระดับมาก และด้านห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้าอยู่ในระดับมาก ขอบเขตการยอมรับของนักศึกษาทั้งหมด ได้แก่ ด้านห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้า (0.97) ด้านการควบคุมสารสนเทศ (1.00) และด้านความรู้สึกที่มีต่อบริการ (1.03) เมื่อพิจารณาจากระดับบริการที่ผู้ใช้บริการได้รับจริงมากกว่าความต้องการและเหนือความคาดหมายในทุกข้อคำถาม ปัจจัยที่อยู่ในช่วงขอบเขตของการยอมรับมากที่สุดคือ ด้านห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้า ช่องว่างของคุณภาพบริการที่เพียงพอในภาพรวมของนักศึกษา (-1.28)  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อคำถามตามค่าเฉลี่ย ข้อที่มีช่องว่างของคุณภาพบริการที่เพียงพอหรือมีคุณภาพมากคือ ด้านห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้า (-1.40) ส่วนช่องว่างของคุณภาพบริการที่ไม่เพียงพอหรือคุณภาพน้อยและผู้ใช้บริการเปิดโอกาสให้ห้องสมุดมีการพัฒนาปรับปรุงคือ ด้านความรู้สึกที่มีต่อบริการ (-1.18)            2) เปรียบเทียบจากผลการประเมินคุณภาพบริการสารสนเทศของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ของแต่ละมหาวิทยาลัยแตกต่างกันในด้านความรู้สึกที่มีต่อบริการ ด้านการควบคุมสารสนเทศ และ ด้านห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้า จึงส่งผลให้ระดับคุณภาพบริการขั้นต่ำที่ยอมรับได้ ระดับบริการที่ต้องการ และระดับบริการที่ได้รับจริงของแต่ละมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน 

Abstract

        This research aims at studying and evaluating the quality of information services of the Rajamangala University of Technology Libraries.

        The survey method was applied in this study.  Stratified random sampling was used to draw a sample of 917 students from a population of 106,820 students, who were studying at the 9 campuses of Rajamangala University of Technology.  To collect data, a questionnaire was designed by adapting the Library Quality Assessment Tool of LibQual Plus (LibQUAL+TM).
        The results revealed that: 1) Information service quality of the Rajamangala University of Technology Library was at the moderate level, with the average value being equal. The service level that users received was higher than minimum-acceptable service level and higher than desired service level. The perceptions of the service were at a high level. Information control and the library as a place for study and research were both at a high level. The study showed the scope of acceptance of students such as the library as a place for study and research (0.97), information control (1.00), and the effective service (1.03). It was found that the level of service users received was higher than levels of needs and expectations in all items. The item included in the scope of acceptance was the library as a place for study and research. The overall service quality gap was tolerable (-1.28).  When considering individual items, it was found that the tolerable service quality gap or the high-quality service was library as a place for study and research (-1.40).  Intolerable service quality gap or the low-quality service which needed improvement was the perceptions of the service (-1.18).   2) In comparing service quality evaluation results of the 9 Rajamangala University of Technology Libraries, it was found that the results were different in all service quality items and levels.

ดาวน์โหลด Full Paper