แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยีระบบตรวจสอบกระเป๋าสัมภาระก่อนขึ้นเครื่อง ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ

An Adoption Modelof a Passenger Baggage Reconciliation System (PBRS), Suvarnabhumi International Airport

บทคัดย่อ

        งานบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ   ก) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและใช้ระบบ PBRS ตามข้อแนะนำด้านการรักษาความปลอดภัย (Security) ของ ICAO Annex 17, Baggage Reconciliation และ   ข) พัฒนาแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยีระบบตรวจสอบกระเป๋าสัมภาระก่อนขึ้นเครื่อง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้สหทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ UTAUT2 เป็นกรอบแนวคิดของการวิจัย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างการวิจัยซึ่งเป็นพนักงานให้บริการภาคพื้น (Ground Handling Agent : GHA) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 214 คน สถิติอ้างอิงที่ใช้ทดสอบสมมติฐานคือการวิเคราะห์กำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (Partial Least Squares) โดยใช้ซอฟต์แวร์ SmartPLS และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance -- ANCOVA) เป็นเครื่องมือในการทดสอบสมติฐาน ผลการทดสอบเผยให้เห็นแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของการยอมรับและใช้ระบบ PBRS จำนวน 7 แบบจำลอง ซึ่งมีความเข้ากันได้ดี และพบว่าประสิทธิภาพ ความง่าย อิทธิพลทางสังคม ความสะดวก แรงจูงใจ และคุณค่าในการใช้ระบบ PBRS มีผลต่อความตั้งใจใช้ระบบ PBRS และพบว่าความตั้งใจใช้ส่งผลต่อการใช้งานจริง นอกจากนี้ ผลการทดสอบสมมติฐานยังบ่งชี้ว่าตัวแปรแทรก (อายุ และประสบการณ์) ไม่ส่งผลใดๆ ต่อเส้นทางอิทธิพลของความสะดวก แรงจูงใจ และคุณค่าในการใช้ระบบ PBRS ต่อความตั้งใจใช้ และประสบการณ์ไม่ส่งผลต่อเส้นทางอิทธิพลของความตั้งใจใช้ต่อการใช้งานจริงเช่นเดียวกัน

Abstract

        The objectives of this research were to a) study factors influencing the adoption and use of PBRS systems in accordance with ICAO Annex 17, Baggage Reconciliation and Security Recommendations, and b) develop a model of PBRS acceptance and use. The study was quantitative research using the Unified Theory of Acceptance and Use of Technology 2 (UTAUT2) as a research conceptual framework. Questionnaires were used as a tool for gathering data from 214 respondents, the Ground Handling Agent (GHA), Suvarnabhumi Airport. The inferential statistics used for testing the hypotheses were Partial Least Squares (PLS) using SmartPLS software and Analysis of Covariance (ANCOVA). The test resulted in seven structural relationship models in the PBRS acceptance and use with the goodness of fit. The test also found that efficiency, ease of use, social influence, facilitating conditions, motivation, and value of PBRS systems affected the intention to use the PBRS systems and the intention affected the actual use. In addition, the hypothesis test indicated that the latent variables (age and experience of the staff) did not affect the influence path of convenience, motivation and value of the PBRS system to the intention to use and also experience had no effect on the influence path of the intention to the actual use.

ดาวน์โหลด Full Paper