บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม ประเมินความเหมาะสม และตรวจสอบการใช้คำศัพท์ทางด้านสมุนไพรไทย โดยดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ (1) การรวบรวมคำศัพท์ทางด้านสมุนไพรไทยจากพจนานุกรมและสารานุกรม ทางด้านสมุนไพรไทย จำนวน 6 ชื่อเรื่อง เพื่อคัดเลือกคำศัพท์สมุนไพรไทยที่ใช้คำแทนในภาษาไทยมากกว่าหนึ่งคำ (2) นำคำศัพท์ที่รวบรวมเสนอผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรไทยซึ่งเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 5 ท่าน เพื่อประเมินความเหมาะสมของคำศัพท์สำหรับเป็นคำค้นประเภทหัวเรื่อง และ (3) นำคำศัพท์ที่รวบรวมได้ไปตรวจสอบกับฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC) ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย จำนวน 5 แห่ง
พบว่าคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสมุนไพรไทย ที่ใช้คำแทนในภาษาไทยหลายคำ มีทั้งสิ้น 645 คำ คำศัพท์สมุนไพรดังกล่าวใช้คำแทนในภาษาไทยสองคำ มีมากที่สุด จำนวน 111 คำศัพท์ คิดเป็นร้อยละ 17.21 รองลงมา ใช้คำแทนในภาษาไทยสามคำ จำนวน 95 คำศัพท์ คิดเป็นร้อยละ 14.73 และใช้คำแทน ในภาษาไทยสี่คำ จำนวน 94 คำศัพท์ คิดเป็นร้อยละ 14.57 ตามลำดับ
ผู้เชี่ยวชาญด้านแพทย์แผนไทยได้ประเมินความเหมาะสมของคำศัพท์เพื่อใช้เป็นคำค้นประเภทหัวเรื่อง พบว่า มีคำศัพท์ที่ผ่านการประเมินทั้งสิ้น 489 คำ โดยแบ่งเป็นคำศัพท์หลัก จำนวน 383 คำ คิดเป็นร้อยละ 78.32 และคำศัพท์ที่ใช้แทนกันได้ จำนวน 106 คำ คิดเป็นร้อยละ 21.68 สำหรับคำศัพท์หลักที่ผ่านการประเมินอย่างเป็นเอกฉันท์ มีจำนวน 280 คำ คิดเป็นร้อยละ 73.11 และผ่านการประเมินไม่เป็นเอกฉันท์ มีจำนวน 103 คำ คิดเป็นร้อยละ 26.89 ส่วนคำศัพท์ที่ใช้แทนกันผ่านการประเมินอย่างเป็นเอกฉันท์ มีจำนวน 38 คำ คิดเป็นร้อยละ 35.85 และผ่านการประเมินไม่เป็นเอกฉันท์ มีจำนวน 68 คำ คิดเป็นร้อยละ 64.15
การนำคำศัพท์ทางด้านสมุนไพรไทยที่รวบรวมได้และผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งหมด 489 คำ ไปตรวจสอบกับระบบสืบค้นข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC) ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย 5 แห่ง พบว่า คำที่ใช้เป็นหัวเรื่องในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC) มีจำนวน 375 คำ โดยแบ่งเป็นคำ ที่ผ่านการประเมินอย่างเป็นเอกฉันท์ จำนวน 264 คำ คิดเป็นร้อยละ 70.40 และคำที่ผ่านการการประเมินไม่เป็นเอกฉันท์ จำนวน 111 คำ คิดเป็นร้อยละ 29.60 โดย ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด (OPAC) มหาวิทยาลัยบูรพา พบคำศัพท์สมุนไพรที่ใช้เป็นคำค้นประเภทหัวเรื่องมากที่สุด จำนวน 300 คำ คิดเป็นร้อยละ 80 รองลงมาคือ หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 289 คำ คิดเป็นร้อยละ 77.06 และสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 265 คำ คิดเป็นร้อยละ 70.67 ตามลำดับ
In this article, the researcher collects, evaluates the appropriateness, and investigates the use of a Thai herbal vocabulary.
This investigation was carried out by taking the following three steps seriatim:
The researcher collected (1) Thai herbal vocabulary from six dictionaries and encyclopedias dealing with Thai herbs in order to select vocabulary for Thai herbs that used substituted words in Thai more than once.
(2) The vocabulary words collected were then presented to experts in Thai herbs. These experts were five lecturers in the field of Thai traditional medicine at Ramkhamhaeng University. These experts evaluated the appropriateness of a vocabulary that could be used for retrieval based on subject headings.
(3) The vocabulary words collected were verified by employing the Online Public Access Catalog (OPAC) of five university libraries.
Findings are as follows:
Six hundred forty-five English words for Thai herbs were substituted for Thai words. It was also found that 111 vocabulary words for Thai herbs were replaced by Thai words. Next in descending order were three Thai word substitutes for 95 vocabulary words and four Thai substitutes for 94 vocabulary words.
Experts in Thai traditional medicine evaluated the appropriateness of the vocabulary words to be used as subject headings and the results were as follows:
The vocabulary words satisfying the evaluation were 489 words in number divided into 383 major vocabulary words and 106 substituted words. Two hundred eighty major vocabulary words unanimously passed the evaluation and 103 words satisfied the evaluation but not unanimously. Thirty-eight words unanimously satisfied the evaluation and 68 satisfied the evaluation, but not unanimously.
Four hundred eighty-nine vocabulary words for Thai herbs collected and evaluated by experts were checked with OPAC at five university libraries with the following results:
Words used as subject headings in OPAC databases were 375 in number. These were divided into 264 words unanimously evaluated and 111 words satisfying evaluation but not unanimously. The OPAC database at Burapha University Library showed vocabulary words for Thai herbs as subject headings at the highest level with 300 words. Next in descending order were the Kasetsart University Learning Center with 289 words and the Office of Academic Resources and Information Technology of Rajabhat Mahasarakham University with 265 words.