การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลความต้องการของนักวิชาการด้านวัฒนธรรมศึกษา เมทาดาทา (Metadata) ระบบฐานข้อมูลดิจิทัลวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ สร้างฐานข้อมูลดิจิทัลวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษและพัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัลที่เหมาะสมสำหรับจัดเก็บข้อมูลวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ ให้อยู่ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถสืบค้นได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งพัฒนาโดยโปรแกรมเว็บแอปพลิเคชั่น (Web Application) โดยใช้ภาษาพีเอชพี (PHP) ในการเขียนโปรแกรม และใช้ฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล(MySQL) ในการจัดเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักวิชาการวัฒนธรรม จำนวน 20 คน นักศึกษาสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบและประเมินผลฐานข้อมูล สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ผลการทดสอบและประเมินผลฐานข้อมูลในส่วนเนื้อหามีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ประโยชน์ที่ได้รับจากเนื้อหาข้อมูลมีความเหมาะสมในส่วนการสืบค้น มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับปานกลางข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ นำเสนอผลการสืบค้นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ในส่วนการติดต่อกับผู้ใช้มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ รูปแบบการแสดงความช่วยเหลือของฐานข้อมูลเหมาะสม และคู่มือการใช้มีความละเอียดครอบคลุมเหมาะสม ในส่วนของลักษณะของฐานข้อมูล มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ การออกแบบหน้าหลัก การกำหนดกลุ่มผู้ใช้ การจัดวางกราฟฟิก และปุ่มคำสั่งต่างๆ มีความเหมาะสม
This research aims to explore and gather information needs of cultural academics, to study metadata of cultural and local wisdom digital database in Sisaket, create a cultural and local wisdom digital database of digital, and develop an appropriate database for storage cultural and local wisdom information of Sisaket in an electronic format that can be retrieved via the Internet. The database was developed by the web application using PHP programming and MySQL to store these data. The samples were 20 cultural academics, 10 Library and Information Science students. Tools of study were a database test and evaluation. The statistics used were mean and standard deviation.
The results found that the database content is appropriate at high level. The overall was high level and the highest score item was the benefit of the content is appropriate. In term of suitable retrieving in overall was moderate and the highest score item was the suitable of properly results. In term of user interface, the result was high, and the highest score item was the user helping form was suitable and user manuals are comprehensive manner. In terms of the nature of the database in overall was a reasonable level. The highest score item were the main monitor design, defining user groups, graphiclayout and the instructional buttons were appropriate.
ดาวน์โหลด Full Paper