ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิชาประชาคมอาเซียนโดยการเรียนรู้จากการผลิตสื่อ Infographic

The Academic Achievement of ASEAN Community of Undergraduate Students by Creating Infographic

บทคัดย่อ

        งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประชาคมอาเซียน ของนักศึกษาระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้จากการผลิตสื่อ Infographic และกลุ่มเรียนรู้แบบปกติ  และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประชาคมอาเซียนของนักศึกษาจากการผลิตสื่อ Infographic  กับเกณฑ์ร้อยละ 75 โดยใช้การทดลองแบบ Posttest-Only Control Group Design ซึ่งเก็บข้อมูลจากนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนวิชา GE140 ประชาคมอาเซียน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จำนวน 2 กลุ่มเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่เรียนรู้แบบปกติ (66 คน) ในภาคเรียนที่ 2/2558  และ กลุ่มที่เรียนรู้จากการผลิตสื่อ Infographic (60 คน) ในภาคเรียนที่ 1/2559  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้  และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการผลิตสื่อ Infographic และกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ Independent t-test  และ One sample t-test   ผลการวิจัยพบว่า  1) กลุ่มที่เรียนรู้จากการผลิตสื่อ Infographic มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่เรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และ 2) กลุ่มที่เรียนรู้จากการผลิตสื่อ Infographic มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05     

Abstract


       The objectives of this research were 1) to compare undergraduate students’ academic achievement in ASEAN Community between creating infographic group and traditional learning group; and 2) to compare their academic achievement after creating infographic with a criterion of 75%.  The posttest-only control group design was used in this study by collecting the data from Dhurakij Pundit University students who enrolled in “GE140 ASEAN Community” course which were divided into one control group (n= 66) in the second semester of the academic year 2015 and one experimental group (n= 60) in the first semester of the academic year 2016. Research instruments consisted of the achievement test and plans of learning activities. The data then was analyzed by using Independent t-test and One sample t-test. The results indicated that: 1) Academic achievement of the students in the creating infographic group (experimental group) was statistically significantly higher than those in the traditional learning group (control group) (p-value< 0.05); and 2) Academic achievement of creating infographic group was statistically significantly higher than the criterion of 75% (p-value< 0.05 

ดาวน์โหลด Full Paper