การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอมือพื้นเมืองของคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง บ้านพุน้ำร้อนในจังหวัดสุพรรณบุรี

Handmade Textile Learning Center Development for Thai-Laos Krang Community in Ban Pu Nam Ron, Dan Chang District, Suphanburi Province

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนบ้านพุน้ำร้อนอำเภอด่านช้างจังหวัดสุพรรณบุรี 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน บ้านพุน้ำร้อนอำเภอด่านช้างจังหวัดสุพรรณบุรี 3) สำรวจองค์ความรู้ผ้าทอมือของบ้านพุน้ำร้อนอำเภอด่านช้างจังหวัดสุพรรณบุรี และ 4) พัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ที่เหมาะสมของชุมชน บ้านพุน้ำร้อนอำเภอด่านช้างจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง เจ้าอาวาสวัดบ้านพุน้ำร้อนและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
        ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนบ้านพุน้ำร้อนมีการทอผ้าพื้นเมืองของกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวครั่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีวิถีการดำรงชีวิต การทอผ้าเป็นแบบดั่งเดิม ผ้าทอมีเอกลักษณ์เฉพาะ และมีลวดลายสลับซับซ้อนไม่เหมือนใคร การทอผ้ายังสัมพันธ์กับความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ปัจจุบันบ้านพุน้ำร้อนยังไม่มีศูนย์การเรียนรู้ที่เป็นระบบ การจัดวางอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้การทอผ้ายังขาดการวางสัดส่วนพื้นที่ ผู้เรียนคือผู้สนใจเฉพาะกลุ่ม สถานที่การเรียนรู้ และผู้สอน ยังใช้สถานที่วัดพุน้ำร้อน และได้ท่านจ้าอาวาสวัดพุน้ำร้อนเป็นผู้สอนและให้การสนับสนุน การเรียนรู้ยังมีลักษณะตามอัตภาพ ขาดการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม องค์ความรู้ยังอยู่ที่ตัวบุคคลยังไม่มี
การถ่ายทอดจัดเก็บไว้ในรูปสื่อ ที่สะดวกต่อการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้ยังมีขีดจำกัด
        2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับศูนย์การเรียนรู้ได้แก่ 1) ด้านการมีส่วนร่วม พบว่า ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและการออกแบบศูนย์การเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาปรับปรุงศูนย์เรียนรู้และมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์จากศูนย์เรียนรู้ผ้าทอมือพื้นเมือง 2) ด้านศักยภาพในการเรียนรู้ในด้านผู้เรียนมีความพร้อม ตระหนักถึงความสำคัญต่อการเรียนรู้เรื่องผ้าทอพื้นเมือง มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และมีวินัยในการเรียนรู้ ด้านผู้สอน ผู้สอนมีความรู้ความสามารถด้านการทอผ้าพื้นเมืองผู้สอนเทคนิคในการถ่ายทอดการทอผ้า ผู้สอนมีทักษะในการสื่อสาร 3) ด้านเครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องทอผ้าเครื่องปั่นด้ายมีจำนวนจำกัด อุปกรณ์ทุกชิ้นทำขึ้นจากไม้ วัสดุที่ใช้ได้แก่ เส้นด้ายได้จากธรรมชาติในท้องถิ่น
4) ด้านทัศนคติต่อศูนย์เรียนรู้ ทั้งผู้สอนและผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีทั้งความรู้สึกความคิด และการแสดงออกที่ให้ความสำคัญในเรื่องการเรียนรู้ และต้องการศูนย์เรียนรู้ และ 5) ด้านการจัดการ ศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอมือพื้นเมืองยังขาดการวางแผนในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ การควบคุมการเรียนรู้เป็นแบบตามอัธยาศัยการส่งเสริมการเรียนรู้ยังไม่มีการสร้างแรงจูงใจ หรือพัฒนากลยุทธ์การเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
        3. องค์ความรู้ผ้าทอมือของไทยเชื้อสายลาวครึ่ง บ้านพุน้ำร้อน อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรีมีองค์ความรู้ผ้าทอมือ ทั้งหมด11ลายโดย 10 ลาย จดลิขสิทธิ์แล้ว ได้แก่ 1) ลายกาบใหญ่ 2) ลายขอขื่อเต็มดอก 3) ลายขอกำหมาว้อ 4) ลายขอนาคค้ำ 5) ลายกาบขอขื่อ 6) ลายขอขื่อใหญ่ 7) ลายแมงกะบี้ (ลายขอเกาะดอก) 8) ลายกาบขอน้อย 9) ลายกาบขอโคม และ 10) ลายขอกำขื่อใหญ่ และลายที่ถ่ายทอดในศูนย์เรียนรู้เป็นพื้นฐานไม่จดลิขสิทธิ์ คือ ลายขิด
        4. รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอมือพื้นเมืองของคนไทยเชื้อสายสาวครึ่งบ้านพุน้ำร้อน อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี มีลักษณะดังนี้ 1) เน้นการเรียนรู้เรื่องชนิดและแบบของผ้าทอมือพื้นเมือง
2) เน้นการลงมือปฏิบัติจริงในการทอผ้าพื้นเมือง 3) เน้นการเรียนรู้เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับผ้าทอมือพื้นเมือง 4) เน้นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพให้กับคนในชุมชน5) สภาพแวดล้อมของศูนย์การเรียนรู้มีลักษณะเป็นห้องเรียนแบบปิดหรือห้องเรียนรายบุคคลเรียนรู้ของคนในชุมชนทุกคน 6) เป็นศูนย์เรียนรู้ที่ไม่มีขีดจำกัดและเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง และ 7) เป็นการเรียนรู้ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์

Abstract

        The purposes of this research are; 1) To study the existing learning condition of Ban Pu Nam Ron community, Dan Chang District, Suphanburi 2) To study factors relating to Ban Pu Nam Ron community, Dan Chang District, Suphanburi 3) To survey the knowladge handmade textile weaving of Ban Pu Nam Ron community, Dan Chang District, Suphanburi, and 4) To develop a
matching learning that will suit Ban Pu Nam Ron community, Dan Chang District, Suphanburi. The qualitative researching methods are applied in this research. Observation and Interview are used as the tools in gathering data from the key informants: the community leaders and the local authority officers. The data has been analyzed by using Content Analysis method. According to the research it founded that;
        1. The members of the learning center are Thai-Laos Krang people who have traditionally inherited their weaving method, related with beliefs and customs, with unique texture from the past. Managing wise, it lacks of ystematic and good organization: improper area distribution and unorganized equipment placing, insufficient government supporting budget and assistance, no wider channel of knowledge transformation.
        2. Relevant factors for the existence of the learning center are community participation, learner competency, equipment, people attitude toward the learning center, and management. It found that the members have actively participated in learning plan and positively enthusiasm to learn the knowledge provided by expert informers who have good instructing skills, however; they
need a good organization, proper and sufficient equipment, and effective learning supporting program.
        3. Regarding to the intellectual asset of Thai-Laos Krang in handmade textile, it found that there are 10 textures having a right preserved, these textures are 1) Kabyai 2) Ko Kue Tem Dok 3) Ko Ma Wo 4) Ko Nak Kham 5) Kab Ko Kue 6) Ko Kue Yai 7) Mang Ka Bee (Ko Kao Dok) 8) Kab Ko Noi 9) Kab Ko Kom, and 10) Kum Kue Yai. The texture teaching in the learner center, with no right preservation, is Lai Kid.
        4. The model for effective content and knowledge management of the Handmade Textile Learning Center for Thai-Laos Krang Community ought to be concerned with 7 factors; 1) Focuses on knowledge of type of pattern of the local pattern, 2) focuses on actual weaving practice, 3) focuses on learning for preservation of tradition and culture relating to handmade textile, 4) focuses on learning as occupation development for local people, 5) the class is close
class type, or individual class for the learning of everyone in the community, 6) to be the learning center without limits and can be continually learned from, 7) to be the living learning center –learning between from individual to one another.

ดาวน์โหลด Full Paper