คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Quality of Work Life Affected Organizational Commitment Among Academic Supporting Staff at Srinakarinwirot University

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ทำนายความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัย       ศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)         

         ผลการวิจัยพบว่า

          1. บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง และมีความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับสูง

         2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 8 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน (X3)  ด้านการได้รับผลตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม (X1)  ด้านประชาธิปไตยในองค์การ (X7) ด้านโอกาสและการพัฒนาความสามารถของตนเอง (X4)  ด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและคำนึงถึงสุขภาพ (X2) ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว (X6) ด้านงานมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม (X8) และด้านการบูรณาการทางสังคม (X5)        

        3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีด้วยกัน 4 ปัจจัย  โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปยังปัจจัยที่ส่งผลน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน (X3) ด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและคำนึงถึงสุขภาพ (X2) ด้านประชาธิปไตยในองค์การ (X7)  และด้านงานมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม (X8) ปัจจัยทั้ง 4 ปัจจัยนี้ สามารถร่วมกันพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ร้อยละ 33.20

        4. สมการพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้แก่

                        4.1 สมการพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยใช้คะแนนดิบ ได้แก่                       

                           Ŷ  = 1.811 + .259X3  + .101X2  +  .087X7  + .094X8  

                        4.2 สมการพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยใช้คะแนนมาตรฐาน ได้แก่

                        Z = .352X3 + .138X2  + .129X7  + .104X8   หรือ

                        Z ความผูกพันต่อองค์การ = .352*Z ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน + .138*Zด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและคำนึงถึงสุขภาพ ­+ .129*Zด้านประชาธิปไตยในองค์การ + .104*Zด้านงานมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม

Abstract

     The purposes of this research were to examine the level of quality of work life and the relationship between factors affecting organizational commitment of academic supporting staff at Srinakharinwirot University in order to establish a prediction equation of organizational commitment.  351 academic supporting staff at Srinakharinwirot University were the sample of this study.  Questionnaire was administered and then data were analyzed and presented by Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis
     

The results revealed as follows:

             1. Quality of work life of academic supporting staff at Srinakharinwirot University was at a moderate level whereas that of organizational commitment was at a high level. 

             2. The factors significantly gained positive relationship to the organizational commitment at .01 level included opportunity for continued growth and security (X3), adequate and fair compensation (X1), constitutionalism (X7), opportunity for developing and using human capacity (X4), safe and healthy working conditions (X2), work and total life space (X6), social relevance of work life (X8), and social integration (X5). 

            3. The factors significantly affected the organizational commitment at .01 level included growth and security (X3), safe and healthy working conditions (X2), constitutionalism (X7), and social relevance of work life (X8), respectively and these factors could predicted organizational commitment of the staffs at 33.20 percents.           

           4. The prediction equations of organizational commitment for the staffs were as:

                    4.1 The prediction equation through raw scores was:
                         Ŷ  = 1.811 + .259X3  + .101X2  +  .087X7  + .094X8                              

4.2 The prediction equation through standard scores was:

                     Z = .352X3 + .138X2  + .129X7  + .104X8   or

Z organizational commitment = .352*Z growth and security +.138 *Z safe and healthy working conditions + .129*Z constitutionalism + .104*Z social relevance of work life.

 

ดาวน์โหลด Full Paper