พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาตามตัวแบบบิ๊กซิกส์ และการรู้สารสนเทศของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Information-Seeking Educational Behaviors Based on the Big Six™ Model and the Information Literacy of Undergraduates at the Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนิสิตระดับปริญญาตรีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ (2) เพื่อศึกษาการรู้สารสนเทศของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศและการรู้สารสนเทศของนิสิตระดับปริญญาตรีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรอบแนวคิดการวิจัยประกอบด้วยตัวแบบพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศบิ๊กซิกส์และมาตรฐานการรู้สารสนเทศของสมาคมห้องสมุดวิทยาลัย
และวิจัยประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นิสิตระดับปริญญาตรี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ลงทะเบียนในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา2559 จำนวน 353 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผ่านการประเมินความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ และหาค่าความเชื่อมั่นของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบที่ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเพื่อทดสอบสมมุติฐานของการวิจัย โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แบบสอบถามกลับคืนมา 353 ชุด เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
        ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
        นิสิตระดับปริญญาตรีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการบัญชี ซึ่งนิสิตเหล่านี้เข้าใช้ห้องสมุดโดยรวมส่วนใหญ่มีความถี่ประมาณ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ขณะเดียวกันนิสิตนิยมใช้สารสนเทศทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ยังพบว่านิสิตนิยมใช้สารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบเอกสารฉบับพิมพ์มากกว่าอิเล็กทรอนิกส์ พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของแต่ละขั้นตอนพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 2 ขั้นตอนคือการกำหนดกลยุทธ์ในการแสวงหาสารสนเทศและการระบุแหล่งและการเข้าถึงสารสนเทศ ในทำนองเดียวกัน
อยู่ในระดับมาก 4 ขั้นตอน ซึ่งขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือการประเมินผลลัพธ์ และมีการรู้สารสนเทศตามมาตรฐานสามัตถิยะการรู้สารสนเทศของสมาคมห้องสมุดวิทยาลัยและวิจัยประเทศสหรัฐอเมริกาโดยรวมทั้ง 3 มาตรฐานอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน ซึ่งมาตรฐานที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือมาตรฐานที่3 ผลการทดสอบสมมุติฐานการวิจัยโดยเทคนิคการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันพบว่าพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศตามตัวแบบบิ๊กซิกส์กับการรู้สารสนเทศตามมาตรฐานการรู้สารสนเทศของสมาคมห้องสมุดวิทยาลัยและวิจัยประเทศสหรัฐอเมริกาโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงเส้นในทิศทางบวก
อยู่ในระดับปานกลางทุกด้านและทุกมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

        In this thesis, the researcher studies (1) the information-seeking behaviors of selected undergraduates at the Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University. The researcher also examines (2) the information literacy of the students under study. Furthermore, finally, the researcher determines (3) whether there are positive or negative linear relationships
between the information-seeking behaviors and information literacy standards on the basis of the standards of the Association of College and Research Libraries (ACRL) of these students.
        The conceptual framework for this inquiry consisted of (1) the Eisenberg-Berkowitz Big Six™ information-seeking behavior process model and (2) the ACRL’s information literacy standards.
        The sample population consisted of 353 undergraduates, all of whom had registered in the first semester of the academic year 2016 at the Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University.
        The research instrument was a questionnaire tested for validity by experts with Cronbach’s α (alpha) measure of internal consistency showing reliability at the level of 0.82.
        In collecting germane data, the researcher distributed questionnaire copies to all 353 members of the sample population. All 353 copies were returned with the data subsequently being analyzed by the researcher.
        Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of frequency, percentage, mean, and standard deviation. Pearson’s product moment correlation coefficient (PPMCC) method was also employed in testing research hypotheses. Statistical significance was set at the level of .05.
        Findings are as follows:
        Females, who were studying in the first year of the Accountancy program, constituted the highest proportion of the undergraduates under study. At the same time, these students used information in both Thai and English. Furthermore, it was also found that the students more frequently utilized information in the form of printed matters in comparison to electronically
distributed information. Concerning information-seeking the following was found: In applying the Eisenberg-Berkowitz Big Six™ information-seeking behavior process model, the researcher determined that the mean for two steps—information seeking strategies and location of, and access to, information—was determined to be expressed at a moderate level. Means at a high level were found to hold for four steps. The step with the highest mean was evaluation.
Information literacy by reference to ACRL standards was found to be displayed at a moderate level for three standards. The standard with the highest mean was Standard Three, viz., [to] evaluate information and its sources critically. In hypothesis testing, the researcher utilized the PPMCC method. Accordingly, the researcher determined that the information-seeking behaviors evaluated by reference to the Eisenberg-Berkowitz Big Six™ information-seeking behavior
process model and the ACRL information literacy standard overall showed a positive linear relationship at a moderate level for all aspects and standards at the statistically significant level of .05.

ดาวน์โหลด Full Paper